วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

สมัครเป็นที่ปรึกษาการเงิน

สมัครเป็นที่ปรึกษาการเงิน


---------------------------------------------------------------------------------
      อาชีพอิสระ อาชีพที่ปรึกษาการเงิน นี่คือบทเรียนเปลี่ยนชีวิต จากผม

                         Module ที่ 1-10
       1. ที่ปรึกษาการเงินคืออะไร ทำไมต้องมีที่ปรึกษาการเงิน
       2. อาชีพนี้เขาทำงานกันอย่างไร 
       3. เครื่องมืออันทรงพลังของที่ปรึกษาการเงิน
       4. แนวคิดที่แตกต่างระหว่างที่ปรึกษาการเงินกับตัวแทน
       5. ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าลูกค้ามีเงิน มีทรัพย์สิน รวยจริงไม่จริง
       6. การคำนวณค่าความสามารถ และ income protection
       7. การคำนวณหากองทุนการศึกษาบุตรต้องทำอย่างไร
       8. การคำนวณและตั้งกองทุนเกษียณอายุต้องทำอย่างไร
       9. ภาษีอย่างง่ายทำอย่างไร ดูแลหนี้สินให้ลูกค้าทำอย่างไร และความรู้เรื่องการลงทุน ระหว่าง Hight Risk Hight Return กับ Hight Understanding Hight Return เป็นอย่างไร
      10. Product อันทรงพลังที่ที่ปรึกษาการเงินต้องมี มีอะไรบ้าง และเส้นทางแห่งอนาคตของที่ปรึกษาการเงิน และท้ายสุดการเริ่มต้นที่จะเข้าสู่ที่ปรึกษาการเงิน
กรอกข้อมูล ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อรับบทเรียน...ฟรี โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
==========>>>>
<<<<<<<  กรอกข้อมูลได้ที่ http://wiwat-planner10.blogspot.com/ >>>>>>

สมัครตัวแทนประกันชีวิต

New Agent

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjMZUA8rdbsXeVQ1UzNJd4vjJkuAZi9O5vlZvgyiCmP8AHW0JYsNBxhf9Vo-OYOzkn_yJgPgrq3SZj85IJfq9kyz0voARjDGSS-xd2Vep6Foj_jQFYuKiu-syqH8jLXSk7u5WcgDfSTu7Y/s400/

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhlekMFsA1yubpoviLH42b2-_Ut-_NH0ogq45qyqcawuU0BBLcMucRMekPrR4EC5rlVkuFDKcGGWOPmyEwhM1K8AAWQ6Mt532gb919LOV7VjRqjfqJ2abLPmJuaYQu5cvm-8uE4PSR3IEQ/s640/

========== >>>>
           หากท่านต้องการรับบทเรียนรู้ทั้ง 10 บท

             ติดตามได้ที่ >>>>> http://petnakarach42.blogspot.com/ <<<<<
           <<<<<.......ผมพร้อมจะเป็นโค้ชให้ทุกท่านครับ.....>>>>>

ทำงานประจำก็ลงทุนได้....กับกองทุนรวม

ทำงานประจำก็ลงทุนได้....กับกองทุนรวม

ทำงานประจำก็ลงทุนได้....กับกองทุนรวม


        การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน หุ้นปันผล VS หุ้นเก็งกำไร




     การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน เฟ้นหาหุ้นพื้นฐานดี




  การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน"ตอน NAV คืออะไร



            

บทความนี้จะมาช่วยแนะนำให้คนที่ทำงานประจำ ได้เปิดมุมมองเกี่ยวกับการลงทุน
ว่าไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หรือเรื่องใหญ่เกินตัว ในทางตรงกันข้ามหากคุณเริ่มหัดลงทุนเร็วยิ่งได้เปรียบ เพราะภาระทางการเงินยังน้อย และมีรายได้เข้ามาประจำสม่ำเสมอ การลงทุนที่ผมจะพูดถึงนี้คือการลงทุนผ่านทาง "กองทุนรวม" บทความนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น
ก่อนเริ่มเป็นนักลงทุนกันครับ
กองทุนรวม คือ เครื่องมือในการลงทุน (investment vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการ ที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น
  • มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน เพราะใช้เงินเริ่มต้นเพียง 2,000-2,500 บาท ก็สามารถลงทุนได้แล้ว
  •  (จำนวนที่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน)
  • ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน
  • ไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน
กองทุนรวม จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้
(ที่มา : http://www.thaimutualfund.com/)
หลายๆ ท่านอาจจะรู้จักกองทุนรวมว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยประหยัดภาษี คือ กองทุนประเภท LTF
และ RMF แต่จริงๆ แล้วกองทุนรวมมีหลายหลายประเภท ซึ่งรายละเอียดจะเอามาฝากในบทความถัดๆ ไปครับ แต่ถ้าใครใจร้อนอยากทราบก่อน ก็สามารถหาข้อมูลได้โดย คลิกที่นี่ ครับ
การลงทุนในกองทุนรวมก็ส่วนหนึ่งจะคล้ายๆ กับธุรกิจซื้อมาขายไป แต่สิ่งที่เราซื้อมาแล้วขายไปนั้นไม่ได้เป็นตัวสินค้าที่จับต้องได้ แต่เราจะเรียกมันว่า "หน่วยลงทุน" กองทุนแต่ละกองจะมีมูลค่าหรือราคาของหน่วยลงทุน (NAV) แตกต่างกันไป และมูลค่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา สภาวะเศรษฐกิจ
หรือตัวแปรอื่นๆ ที่มีผลกับกองทุนนั้นๆ ส่วนผลกำไรที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม จะมาจาก
มูลค่าของหน่วยลงทุน (NAV) ที่เพิ่มขึ้น เช่น ผมซื้อกองทุน A ตอนเดือนมกราคมในราคาหน่วยลงทุนละ 3 บาท และพอตอนสิ้นปีหน่วยลงทุนมีมูลค่าหน่วยละ 4 บาท แปลว่าผมจะได้กำไรหน่วยละ 1 บาท (ก่อนหักค่าธรรมเนียม) โดยกำไรส่วนนี้ที่ผมได้ไม่ต้องเสียภาษี
เงินปันผล บางกองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นด้วย ส่วนจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไร และนโยบายที่กองทุนนั้นกำหนดไว้ รายได้จากเงินปันผลจะต้องเสียภาษีด้วย
 โดยเบื้องต้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จาย 10% จากยอดเงินปันผลนั้น

    สำหรับผู้ทีสนใจจะเริ่มลงทุนในกองทุนรวม สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ติดต่อธนาคารที่สะดวก
    หรือถ้าเป็นธนาคารที่ท่านมีบัญชีออมทรัพย์อยู่แล้วก็จะยิ่งง่าย แจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคารว่าต้องการซื้อกองทุน แล้วก็ทำการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ที่จำเป็น ทั้งนี้จะต้องทำการเปิดบัญชีในวันทำการปกติ
    (จันทร์-ศุกร์) และอาจจะต้องเลือกกองทุนไว้ก่อนอย่างน้อย 1 กองทุน.m
    ในบทความต่อไปจะมาแนะนำแนวคิดในการเลือกกองทุนให้เหมาะกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการลงทุนกันครับ

    ติดตามบทเรียนรู้ฟรี 10 บทได้ที
    ผม วิวัฒน์ ถีรัตถา พร้อมจะเป็นโค้ชให้กับทุกท่าน
    http://wiwat-planner10.blogspot.com/

    5 ขั้นตอนการวางแผนซื้อ LTF และ RMF

    5 ขั้นตอนการวางแผนซื้อ LTF และ RMF

    5 ขั้นตอนการวางแผนซื้อ LTF และ RMF 
    Cover_11-01  5 ขั้นตอนวางแผนซื้อ LTF และ RMF สำหรับปี 2015 Cover 11 01ลำดับแรก.. ก่อนที่เราจะลงลึกถึงรายละเอียดและขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนนั้น ผมขอทบทวนวิธีการลงทุน เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF และ RMF ให้ฟังอีกสักครั้งนะครับ
    LTF คือ “Long Term Equity Fund” หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก และเหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลาติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด
    RMF คือ “Retirement Mutual Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณ เรียกได้ว่าคล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) (Government Pension Fund) นั่นเองครับ และเหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณนั่นเองครับ
    ซึ่งทั้งสองกองทุนนี้ให้สิทธิพิเศษในการนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีไว้ดังนี้ครับ

    จำนวนเงินที่ซื้อได้เพื่อลดหย่อนภาษี
    • LTF  คือ ซื้อได้สูงสุด 15% ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาท
    • RMF คือ ซื้อได้สูงสุด 15% ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับจำนวนเงินที่สมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ประกันแบบบำนาญ
     เงื่อนไขในการซื้อ
    • LTF นั้นเมื่อซื้อแล้วต้อง ถือไว้อย่างน้อย 5 ปี (ปฎิทิน) จึงจะสามารถขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข
    • ส่วน RMF นั้นมีเงื่อนไขว่า ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี โดยซื้อรวมกันทั้งปีแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของรายได้หรือ 5,000 บาท นอกจากนั้นยังต้องถือไว้เกินกว่า 5 ปี และมีอายุเกิน 55 ปี ถึงจะสามารถขายได้ครับ
    ทีนี้เรามาดูกันต่อดีกว่าครับว่า 5 ขั้นตอนวางแผนซื้อ LTF และ RMF นั้นมีอะไรบ้าง
    1. ดูฐานภาษี
    เริ่มต้นคำนวณก่อนว่า เงินได้สุทธิ ของตัวเรานั้นอยู่ในฐานภาษีไหนตามอัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า เพื่อที่จะได้วางแผนการซื้อ LTF และ RMF ได้อย่างถูกต้องครับ

    เงินได้สุทธิมาจากไหนเงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

     ยกตัวอย่างเช่น นายเกรย์แมนเป็นมนุษย์เงินเดือนโสดสนิทมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน เมื่อคำนวณเงินได้สุทธิตามวิธีด้านล่างแล้ว นายเกรย์แมนมีเงินได้สุทธิจำนวน 510,000 บาทซึ่งตกอยู่ในภาษีฐานที่ 15%

    เงินได้สุทธินายเกรย์แมน (ทั้งปี) คำนวณได้ดังนี้510,000 = 600,000 – 60,000 – 30,000

     หมายเหตุ
    1. รายได้ทั้งปี มาจาก 50,000 x 12 เดือน
    2. รายได้เงินเดือน สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของรายได้แต่สูงสุด 60,000 บาท
    3. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท อ่านบทความค่าลดหย่อนเพิ่มเติมได้ที่  14 รายการลดหย่อนภาษี
    GMA  5 ขั้นตอนวางแผนซื้อ LTF และ RMF สำหรับปี 2015 GMA

    ทีนี้นายเกรย์แมนมีทางเลือกที่ควรทำคือ …

    • เลือกลดภาษีฐานสูงสุด เลือกซื้อ LTF หรือ RMF 10,000 บาท เพื่อประหยัดภาษีในฐานสูงสุด ทั้งหมด 1,500 บาท (15%)
    • เลือกลดภาษีฐานสูงสุด + ตามที่ไหว ซื้อ LTF หรือ RMF 10,000 บาท และเพิ่มเติมด้วยจำนวนเงินที่ซื้อไหว
    • เลือกลดภาษีจำนวนมากที่สุด ซื้อ LTF และ RMF 90,000 บาท (รวม 180,000) เพื่อประหยัดภาษีไปทั้งหมด 1,500 บาท (15%) + 17,000 (10%) = 18,500 บาท
    โดยการซื้อควรจะซื้อให้ครบฐานที่สูงสุดก่อนเพื่อประหยัดภาษีครับ ซึ่งในที่นี้คือ 10,000 บาท ส่วนสาเหตุที่กำหนดข้อนี้เป็นข้อแรกก็เพราะว่า ถ้าหากไม่คำนวณภาษีก่อน บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องซื้อ LTF และ RMF แต่แนะนำให้ซื้อในกองทุนรวมปกติจะดีกว่า

    2. มีแผนลงทุน

    คำว่า “มีแผนลงทุน” เลือกประเภทการลงทุน และประเภทกองทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยคำว่าเหมาะสมนั้นหมายถึง มีความเสี่ยงที่เรายอมรับได้อย่างเหมาะสมครับ......หลังจากนั้นก็ดูว่าตัวเองชอบลงทุนแบบไหน และมีเป้าหมายในการลงทุนอย่างไรบ้าง เช่น ชอบลงทุนในระยะกลาง (5 ปี) หรือ จะวางแผนเกษียณ ต่อด้วยการเลือกนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของตัวเองครับ
    ยกตัวอย่างเช่น บางคนไม่ชอบความเสี่ยงสูงเกินไปนัก ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนกองทุนรวม LTF ที่เน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก หรืออาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวม LTF ประเภท 70/30 ที่มีการกระจายบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือถ้ากลัวมากกว่านั้น อาจจะไปลงทุนในกองทุน RMF ประเภทอื่นๆแทนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ต้องยอมรับผลตอบแทนที่น้อยลงมาด้วยนะครับ
    สำหรับคนที่ยังไม่มีเป้าหมายในการลงทุน หรืออยากรู้ว่ากองทุนไหนดีและเหมาะสมกับเรา ลองดูรายละเอียดกองทุนที่ทางเพื่อนรักของผม หมอนัท ได้คัดสรรมาให้แฟนๆออมมันนี่โดยเฉพาะครับกับบทความนี้ครับ 10 กองทุนน่าสะสม LTF และ RMF ส่งท้ายปี 2014

    3. หมุนเงินให้เป็น

    การเลือกช่วงเวลาลงทุนที่ถูกต้องสำหรับแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการครับ แต่โดยส่วนตัวแผนการลงทุนที่ผมมักจะแนะนำคือ การทยอยซื้อเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยซื้อทุกครั้งในอัตราส่วนที่ต้องการ เช่น 10% ของรายได้ (สูงสุดไม่ควรเกิน 15%) ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะมากสำหรับทั้งมนุษย์เงินเดือนหรือฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่แน่นอนครับ

    4. เห็นเงื่อนไขชัด

    เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1-3 ไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เราต้องไม่ลืมเช็คเงื่อนไขของการลงทุนให้ชัดเจนนะครับ และผมเน้นย้ำเสมอว่าหลักการลงทุนที่ดีของ LTF และ RMF ก็คือ อย่าซื้อเกิน และ อย่าขายก่อน มิฉะนั้นจะมีปัญหาและความวุ่นวายตามมาอย่างแน่นอนครับ
    เพราะบางครั้งสิทธิลดหย่อนที่น้อยลงไปหน่อย
    อาจจะคุ้มกว่าเงินเพิ่ม(ตอกเบี้ย)ที่ต้องจ่ายเพิ่มนะครับ

    5. จัดการติดตาม

    สุดท้ายแล้วคือเรื่องของการจัดการติดตามแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอครับ เราอย่าลืมบันทึกข้อมูลการซื้อขาย และทบทวนผลการดำเนินงานของกองทุนที่เราเลือกด้วยว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการลงทุนของเราให้ได้รับผลตอบแทนที่ตรงใจที่สุดยังไงล่ะคร้าบบบบ
    Aommoney_info_11-1-01  5 ขั้นตอนวางแผนซื้อ LTF และ RMF สำหรับปี 2015 Aommoney info 11 1 01

            ========== >>>>
               หากท่านต้องการรับบทเรียนรู้ทั้ง 10 บท

                 ติดตามได้ที่ >>>>> http://wiwat-planner10.blogspot.com/ <<<<<
               <<<<<.......ผมพร้อมจะเป็นโค้ชให้ทุกท่านครับ.....>>>>>

    การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA

    การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA


    การถัวเฉลี่ยต้นทุนของทรัพย์สินที่ลงทุน


    การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA (Dollar Cost Averaging)


    เผยแพร่เมื่อ 5 ก.ค. 2014  DCA (Dollar Cost Averaging)

    DCA (dollar-cost averaging)
    เวลาเรามีเงินเหลือเก็บ เราก็อยากจะหาทางเลือกให้กับเงินของเรา อยากให้มัน “งอกเงย” วิธียอดนิยมก็คือ เก็บไว้เป็นเงินฝากออมทรัพย์ แต่ทว่าดอกเบี้ยมันช่างต่ำเตี้ยเสียเหลือเกิน จริงมั้ยครับ? ครั้นจะมาลงทุนในหุ้นก็ดูจะเสี่ยง แต่โอกาสที่ผลตอบแทนจะสูงกว่าการฝากเงินกินดอกเบี้ยก็มีอยู่ จะมีหนทางตรงกลางที่ไม่เสี่ยงมาก แต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่? ข่าวดีก็คือ “มีครับ” หนทางนั้นก็คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน 
    หรือ DCA (dollar-cost averaging) เราจะมาดูกันว่า DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร? และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? พร้อมแล้วตามผมมาเลยครับ

    "DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น"
    การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) นั้นคือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้นๆ ว่า DCA ก็แล้วกันครับ ซึ่งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป เป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อยๆ โดยตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม หรือหุ้น ด้วยวิธี DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราจะไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้นๆ ลงๆ ของราคาหุ้น หรือของกองทุนที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียดลงไปได้มากครับ

     ข้อดีของการกระจายการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA


    ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้นมีความผันผวนมากๆ หรือเป็นตลาดขาลง เราจะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่าวิธีที่เราซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถเอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุดครับ ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่งที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาท โดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถจำลองโอกาสที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้



    จากตารางจะเห็นว่าหากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ยแกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าเราตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือนๆ ละ 3,000 บาท เราจะได้ต้นทุน 9.67 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาทต่อหุ้น โดยเราจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากเราซื้อหุ้นทีเดียวเมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน 36,000 บาทเช่นกัน เราจะได้หุ้นเพียง 2,400 หุ้น น้อยกว่าวิธีที่เราซื้อเฉลี่ยด้วยแนวทาง DCA นั่นเองครับ

    ข้อดีของวิธี DCA นั้นนอกจากจะช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงให้เราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีกว่าการกะเก็งจังหวะซื้อด้วยตัวเอง แต่ข้อดีอีกข้อหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญก็คือ การทำ DCA นั้นเป็นระบบที่ทำให้เรามีวินัยในการลงทุน ไม่หลงไปกับความผันผวนของตลาดในระยะสั้นๆ ทำให้เราเกิดความต่อเนื่องในการลงทุน และสามารถใช้การลงทุนช่วยทำให้เราออมเงินได้งอกเงยสมดังความตั้งใจได้ไม่ยากครับ

               ========== >>>>
               หากท่านต้องการรับบทเรียนรู้ทั้ง 10 บท

                 ติดตามได้ที่ >>>>> http://wiwat-planner10.blogspot.com/ <<<<<
               <<<<<.......ผมพร้อมจะเป็นโค้ชให้ทุกท่านครับ.....>>>>>

    การ์ตูนซีรี "เรียนรู้เรื่องการลงทุน" ตอน กองทุนรวมคืออะไร?

    การ์ตูนซีรี "เรียนรู้เรื่องการลงทุน" ตอน กองทุนรวมคืออะไร?

    การ์ตูนซีรี "เรียนรู้เรื่องการลงทุน" ตอน กองทุนรวมคืออะไร?

    ...อยากลงทุนใจจะขาด แต่ไม่มีเวลาติดตาม... 
    ...มีเวลาเหลือเฟ้อ แต่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องหุ้นและตราสารหนี้… 
    ...มีเงินไม่มาก แต่อยากลงทุน... 
    ...ไม่มีประสบการ์ลงทุน ไม่มั่นใจจะลงทุนด้วยตนเอง… 

               การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน NAV คืออะไร




     การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน กองทุนรวมหุ้น



    การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน กองทุนรวม กองทุนลวง?



     การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน


                                  การ์ตูนซีรีส์ "เรียนรู้เรื่องลงทุน" ตอน กองทุนรวมตราสารหนี้

    ========== >>>>
    หากท่านต้องการรับบทเรียนรู้ทั้ง 10 บท
    ติดตามได้ที่ >>>>> http://wiwat-planner10.blogspot.com/ <<<<<
    <<<<<.......ผมพร้อมจะเป็นโค้ชให้ทุกท่านครับ.....>>>>>

    Disqus Shortname